การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี (Free Flow of Skilled Labour) ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ที่จะมีการจัดตั้งอย่างสมบูรณ์ในปี 2558 หรือในอีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ และเป็นห่วงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตลาดแรงงานในประเทศ ทั้งในด้านการย้ายออกของแรงงานฝีมือของไทยโดยเฉพาะแรงงานที่มีประสิทธิภาพ สูง เพื่อไปทำงานในประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งก็มีความกังวลต่อการย้ายเข้ามาทำงานในประเทศไทยของแรง งานต่างชาติจากประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้การแข่งขันในตลาดแรงงานของไทยรุนแรงขึ้น
จากการศึกษาของ OECD ถึงประสบการณ์ในการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศในยุโรปพบว่า หนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศคือ ความแตกต่างด้านภาษา ดังจะเห็นได้ว่าแรงงานที่เคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในกลุ่ม EU (27 ประเทศ) มีสัดส่วนน้อยกว่า 0.5% ของประชากรทั้งกลุ่ม ต่ำกว่าในกรณีของกลุ่ม EU (15 ประเทศ) ซึ่งส่วนใหญ่ประชากรมีความรู้ด้านภาษาไม่แตกต่างกันมาก ที่มีสัดส่วนการเคลื่อนย้ายราว 1% ของประชากรทั้งกลุ่ม หรือแม้แต่การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างรัฐในประเทศเดียวกันอย่างในแคนาดา ความแตกต่างด้านภาษาก็เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเช่นเดียวกัน โดยสัดส่วนแรงงานที่เคลื่อนย้ายระหว่างรัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษกับเมือง Quebec ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการมีสัดส่วนน้อยกว่า 0.5% ต่ำกว่าการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างรัฐอื่น ๆ ที่เหลือของแคนาดาที่มีสัดส่วนราว 1%
ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า อาเซียนที่ประกอบด้วย 10 ชาติ 10 ภาษา ก็คงต้องเผชิญกับปัญหาความแตกต่างด้านภาษาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อน ย้ายแรงงานระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน แต่หากพิจารณาในแง่มุมของปัจเจกบุคคล ผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษา สากล ย่อมมีความได้เปรียบทั้งการแข่งขันในตลาดแรงงานภายในประเทศที่ทวีความรุนแรง ขึ้น รวมถึงในการออกไปหางานทาในประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานสูงกว่า เช่นเดียวกับการพิจารณาในระดับประเทศ ซึ่งประเทศที่ประชากรมีทักษะด้านภาษาดีกว่าย่อมดึงดูดการค้าการลงทุนจากต่าง ประเทศได้มากกว่า
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยโดยเฉลี่ย จากคะแนน TOEFL iBT กับประเทศอื่นในอาเซียน (ยกเว้นบรูไน) พบว่าคะแนน TOEFL iBT เฉลี่ยของไทยในปี 2553 อยู่ที่ 75 คะแนน จากคะแนนเต็ม 120 คะแนน สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนามเท่านั้น แต่ยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย สะท้อนให้เห็นว่าบุคลากรไทยยังมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนา ระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษให้สูงขึ้น เพราะการที่แรงงานไทยมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษสูงขึ้น ไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับแรงงานจากชาติอา เซียนอื่นท่ามกลางการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานภายใต้ AEC เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในการดึงดูดการลง ทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ที่มา : นางขวัญใจ เตชเสนสกุล ผอ.ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธสน.