แน่นอนละที่ว่าข้อผิดพลาดระบบหรือที่เรียกนิยมเรียกทับศัพท์กันว่าบั้กนั้น เปรียบเสมือนสิ่งที่อยู่คู่กับระบบปฎิบัติการทุกตัวอยู่แล้วไม่ว่าระบบปฎิบัติการนั้นๆ จะไฮโซแค่ไหน อย่างไร แต่กับเเพทซ์แก้ไขล่าสุดประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2010 (The February 2010 update for Windows) นั้นจะเป็นการแก้ไขบั้กดึกดำบรรพ์ที่ฝังตัวอยู่ใน OS ตระกูล Windows เกือบทุกตัวตั้งแต่เวอร์ชั่น NT 3.1 ที่นับนิ้วรวมแล้วรวมอายุมากกว่า 17 ปี !!
ข้อผิดพลาดระบบหรือบั้กที่ว่านั้นปรากฎตัวครั้งแรกในปี 1993 ในระบบปฎิบัติการ Windows ตัวล่าสุดสมัยนั้นซึ่งก็คือ Windows NT (NT 3.1), (ซึ่งเป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า New Technology ไม่ใช่ New Type ตามที่ผมเข้าใจผิดมาตลอดเวลา…) และสำหรับ Update for Windows เดือนกุมภาพันธ์ดังกล่าวนี้จะเป็นการอัพเกรดระบบป้องกันรักษาความปลอดภัยกว่า 25 จุด และ 5 ในนั้นเป็นจุดร้ายแรงที่ต้องการๆ แก้ไขอย่างเร่งด่วน
แมลงดึกดำบรรพ์ ( Ancient Bug ) อายุ 17 ขวบดังกล่าวถูกค้นพบโดยทีมวิจัยระบบรักษาความปลอดภัยของ Google นามว่านาย Tavis Ormandy ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยบั้กดังกล่าวนั้นสามารถทำให้ WIndows เวอร์ชั่นใหม่ๆ รันโปรแกรมโบราณเคียงคู่ไปกับมันได้อีกด้วย และ Ormandy ก็ได้พบว่าบั้กดังกล่าวมีผลกระทบกับระบบปฎิบัติการ WIndows สมัยใหม่หลายตัวทั้งหมดได้แก่ Windows XP, Windows Server 2003 และ 2008 รวมไปถึงรุ่นล่าสุดหมาดๆ อย่าง Windows Vista และ Windows 7 อีกด้วย
และหากจะกล่าวถึงกล่าวถึงเเพทซ์แก้ไขประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2010 (The February 2010 update for Windows) ที่มีจำนวนบั้กความปลอดภัยระบบแสดงหรามากกว่า 25 จุดและมากกว่า 5 เป็นจุดร้ายแรง นั้นไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งรุนแรงที่สุดในการออกเเพทซ์แก้ไขความปลอดภัยยกใหญ่ลักษณะนี้ของ Microsoft โดยสถิติกาออกเเพทซ์ยกเครื่องระบบครั้งมโหฐานที่สุดจากทาง Microsoft นั้นได้แก่เเพทซ์รักษาความปลอดภัยประจำเดือนตุลาคม 2009 (The security update for October 2009) ที่มีดีกรีร้อนแรงสุดๆ ด้วยตัวเลขบั้กเกี่ยวกับความปลิดภัยถึงกว่า 34 จุด และจำนวนกว่า 8 จุดในนั้นถูกจัดขึ้นหิ้งว่าเป็นบั้กอันตรายร้ายแรงระดับสูงสุดเลยทีเดียว และเมื่ออ่านบทความนี้จบอย่าลืมเปิดระบบอัพเดทอัตโนมัติในระบบของท่านต้อนรับการแก้ไขบั้กอายุยืนยาวที่สุดในโลกกันนะครับ
ที่มา : Pantip.com